7 Lessons Learned After Hike
หลังจากที่ได้เดินป่าในญี่ปุ่นเป็นครั้งที่สองกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น สิ่งที่ได้รับครั้งนี้คือความจริงแท้ในการรักษ์ธรรมชาติมากๆ กล่าวคือ คิดและคำนึงถึงธรรมชาติแบบเเท้จริงลึกในจิตวิญญาณ และสิ่งต่างๆที่เราล้วนหลงลืมไปว่าเรามาเดินป่าเพื่ออะไร
ผมสามารถตอบตัวเองได้ว่าเดินป่าเพื่ออะไร คือพักผ่อน ผมไม่ได้ต้องการพิชิตอะไร หรือท้าท้ายตัวเองไต่ความสูง ลุยหิมะ หรือ ลุยไปในที่ๆคนไม่เคยไป ผมเดินป่าเพราะคือกิจกรรม พักผ่อนที่ ทุกครั้งที่ไป ต่างประเทศมักจะหาเส้นทางเดินป่าเผื่อไว้เสมอ และ ญี่ปุ่นคือประเทศที่ผม อยากไปบ่อยๆ ที่สุด เพราะหลังจากเดินป่าลงมา ก็แช่ออนเซ็น และกินอาหารอร่อยๆ ซึ่งมันเป็นอะไรที่ผมชอบมากๆ และที่ทุกท่านอ่านมา สามสี่บรรทัดนี้ มันคือเราทำเพื่อตัวเอง แล้วเราทำอะไรเพื่อป่าบ้าง ?
ครั้งนี้ อยากจะนำ 7 ข้อคิดที่ได้จากการเดินป่ากับกลุ่มเพื่อนในญี่ปุ่นให้หลายๆคนได้อ่านกัน และทบทวนถึงสิ่งที่เราทำต่อธรรมชาติ ต่อเพื่อนร่วมทาง ต่อตัวเรา ให้ชัดขึ้น
1) Keep it Slow เดินให้ช้า สัมผัสธรรมชาติให้มาก แบบหอยทาก
สัญลักษณ์ของเส้นทางนี้คือ หอยทาก สื่อถึงการเดินให้ช้า ซึมซับกับธรรมชาติให้มาก บ่อยครั้งที่เรามักเร่งรีบเพื่อให้ถึงจุดกางเต๊นท์ จนลืมไปว่าเรามาเดินป่า เพื่อแข่งขันเดินเร็ว หรือ มาเที่ยวธรรมชาติ
2) Prepare เตรียมตัวให้พร้อม ทั้งฝน ทั้งอากาศหนาว ยา และ อาหาร เพื่อไม่เป็นภาระผู้อื่น
เรียนรู้และศึกษาเส้นทางเท่าที่ทำได้ และ คอยเช็คอุณหภูมิเผื่อใจที่จะเผชิญเสมอ ครั้งนี้ผมเช็คอุณหภูมิ มาตลอด ก่อนเดินทาง 15 วันวัน ดูทุกวัน และ รู้ว่า ฝนตกแน่นอน ผมเตรียมถุงเท้าไปสอง ร่มสำหรับฝนแบบเบาๆ ชุดกันฝนผมสละให้แฟน แต่ตัวผมใช้เสื้อกันลม และ กางเกงขายาว (ปรกติในไทยผมใส่ขาสั้น) แต่ถ้าร่างกายแข็งแรง อยากใส่ขาสั้นก็ตามแต่ใจของแต่ละคน แต่ผมเลือกที่จะไม่ประมาท และ ใช้พวกเสื้อ Polartec ที่ชั้นในตรงหน้าอก เน้นแห้งไว ที่พร้อมลุยฝนมากกว่าเอาเสื้อ Down ไป
3) Quality Time หาเวลาพักให้ตัวเองและสนทนาให้มาก
ช่วงเวลาพักหลังกางเต๊นท์ เป็นช่วง free time ที่หลายๆคนนั่งพัก นอน หรือเตรียมอาหาร แต่ที่นี่หลายคนเลือก หาอะไรมาเล่น อาธิ yoyo, หรือ Kendama พูดคุยและสร้างเสียงหัวเราะได้มาก นอกจากความสัมพันธ์ กับธรรมชาติ ความสัมพันธ์กับผู้คนก็สำคัญ พบเพื่อนใหม่ ทักทาย แบ่งปัน และได้ของฝากจาก Yuny San ที่แบกขึ้นมาให้ ทั้งผมและแฟน จากเมือง ยุฟุอิน เป็น Welcome Gift ที่ชื่นใจมากๆครับ ขึ้นมาบนเขาแต่เช้าแล้วเดินลงพร้อมกัน สุดมากๆ
4) Quality Food อาหารคุณภาพ
สิ่งที่เห็นเสมอเมื่อถึงมื้ออาหาร คนที่นี่จัดเต็ม แบกผัก ผลไม้แห้ง อาหาร เนื้อ ข้าว มาต้มกินอย่างเต็มที่ แทบไม่มีคนกินมาม่า หรือ บะหมี่กึ่งสำเร็จ รอบนี้ผม ไม่มีเวลาเตรียมตัวเลยพกบะหมี่ไป เชื้อเพลิงก็ไม่ได้เอาไป แอบรู้สึกผิดมากๆเหมือนกัน แต่ได้น้ำใจจากทั้ง Saika San ที่พก UNZEN HAM ที่โคตรอภิมหา อร่อย มาแบ่งให้ผมและแฟนได้กิน ส่วนอีกท่าน Fuku San พกชีสที่รสชาติคล้ายไส้กรอกไก่ มาให้ชิม กินแกล้มไปกับบะหมี่ได้ดียิ่งขึ้น เสริมด้วย ซุปผักจาก Log-O San และเมื่อมองไปรอบๆทุกคนล้วนสนุกและแบ่งปันอาหารกัน โต๊ะข้างๆแบ่งขาไก่ย่างให้ด้วย เป็นบรรยากาศที่ดีมากๆ ส่วนผมได้แต่ กดเบียร์มาแบ่งให้ทุกๆคน ไม่ได้เตรียมอาหารขึ้นไปมากนัก รอบหน้าจะลอง ทำผัดไทให้ ทุกคนลองแน่นอน ไม่ชอบก็เกลียดไปเลย 55555
5) Leave No Trace! ไม่ทิ้งของเหลือหรือขยะในป่า
สิ่งสำคัญที่เรามักได้ยินคือไม่ทิ้งขยะบนป่าแต่บางอย่างเราขุดหลุมได้ ไม่ทิ้งขยะ ขับถ่ายขุดหลุม แต่ที่ญี่ปุ่นไม่ใช่เช่นนั้น ทุกคนที่ใช้น้ำมันทอดอาหารหรือทอดหมูแล้วมีน้ำมันเหลือ จะใช้กระดาษหรือกระดาษที่ซับมันได้ ในการเช็ดและเก็บของเหลวทั้งหมด เพื่อทำให้มันเป็นขยะเผาได้ Burnable เผื่อแยกขยะและส่งไปจัดการต่อไป ส่วนน้ำซุปจะกรองของที่ตกค้างออกและกินให้หมด ส่วนของเหลวน้ำ จะพกลงไปทิ้งข้างล่างไม่ทิ้งบนเขา ผมได้พกขวดชาเขียวไปด้วยหลังดื่มหมดก็ได้ เอาฝาที่เป็นฟรอยบะหมี่ มาทำเป็นกรวย กรองน้ำ และ กินเศษที่เหลือส่วน ท่านอื่นทั้งเช็ดหรือก่อนเช็ดจะเอาน้ำเปล่า เทใส่หม้อ แล้วกวาด กินให้หมด ไม่มีคนทิ้ง ลงบนพื้นดิน บนเขาแม้แต่คนเดียว แม้จะมีซิ้งที่ล้างจาน มีช่วงเวลานึงที่ผมจะไปล้างจานแบ่งที่เพื่อนผมแบ่งซุปมาให้ แต่ผมยังเหลือน้ำคลุกคลิกและผักนิดหน่อย เพื่อนผม บอกให้ผมหยุดขอดูว่าเหลือเยอะไหม สิ่งที่ผมไม่คิดและทำให้ผมค้างไป คือเค้าให้ผมเทกลับลงไปในหม้อของเค้าเอง แล้ว ทำการเติมผักและต้มกินต่อเหมือนไม่มีอะไร นี่คือการ รักษ์ธรรมชาติไม่ให้ มีของเหลือ ตกสู่ธรรมชาติ เลย Nature come first ผมเองหยุดนิ่งไป หลายวินาทีเลย ตรงนั้น เพราะถ้าเป็นที่ไทยเราคง สาดเข้าหญ้าข้างทาง หลังจากนี้ผมสัญญากับตัวเองคือ จะกินให้หมด แม้แต่ข้าวที่เรากินทุกวัน
และ สุดท้ายก่อนนอน สิ่งที่ผมประหลาดใจมากๆ คือ การแปรงฟันและ บ้วนน้ำ โดยบ้วนน้ำที่มีฟองแรกใส่ขวด ส่วนน้ำ อื่นๆใช้การกลืนลงคอไป ไม่บ้วน ลงพื้นดินบนเขา อีกเช่นกัน สุดยอดมากๆ
6) Hike Your Own Hike! เดินบนเส้นทางของตัวเอง อย่างมั่นใจ
ไม่ว่า ใครจะแนะนำสิ่งใด อุปกรณ์ไหน ไม่มีอะไรดีที่สุด ทุกวัสดุล้วนพัฒนาในทุกวัน ทุกปี เราเลือกและชอบได้แตกต่างและไม่มีถูกหรือผิด การพูดคุยและเรียนรู้เปิดใจรับ คือสิ่งที่พิเศษ และนำมาประยุกต์กับการเดิน สไตล์ของแต่ละคนได้ บางคนแบกของหนักแต่เต็มด้วยขนมอาหาร และ แบ่งปัน บางคนแบกกาแฟมาเผื่อคนอื่น ในรูป Log-O San ชงกาแฟแจก 6 คน และต้มน้ำใส่ขวดน้ำเก็บความร้อน แจกให้ดื่ม ท่ามกลางลมเย็นของพายุให้ร่างกายอุ่น บางคนแบกเครื่องนอนมาให้นอนอุ่น มีหมอนครบ นอนโฟม นอนบนแผ่นเป่าลม บางคนแบกกล้องมาถ่ายรูป หรือ บางคนแบกเตาแอลกอฮอลมา บางคนใช้เตาแก๊ส พูดคุย เรื่องกำลังไฟ การเผาไหม้ เป็นสังคมแห่งการ Share ที่ดีมากๆ ทุกๆวิถี และ เส้นทาง ล้วนแตกต่าง ไม่มีถูกหรือผิดอยู่ที่เราชอบและเลือกเส้นทางของตนเอง
7) Cheer Up! ส่งกำลังใจและเอาใจช่วยเพื่อนร่วมทาง
เมื่อพบหรือกำลังจะเผชิญเส้นทางที่ยาก ทุกการเดินเป็นกลุ่มมักมีคนเดินเร็วเดินช้า การส่งเสียงให้กำลังใจ เพื่อนร่วมทาง เป็นการสร้างแรงและสร้างกำลังใจได้มาก Let'go ! ในรูป Aizu San ส่งเสียเชียร์ Let's go ไปกัน! ภาษาไทย บอกพวกเราให้ลุย ขึ้นเขาที่เต็มไปด้วยหิน กลางพายุ
ผมว่าคนญี่ปุ่นมีความคำนึงถึงผู้อื่นอยู่ในใจลึกๆ หรือ มีคำๆนึงนั่นคือ "Omotenashi" คือจิตวิญญาณการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การแบ่งปันความรู้ แบ่งปันอาหารพกขึ้นเขามาเยอะๆเผื่อคนอื่น เพราะแค่ต้องการให้คนอื่น รู้สึกดี ได้แบ่งปัน หรือ ถ้ายกตัวอย่างก็ ผมยกตัวอย่างจากตัวผมแล้วกันครับ ถ้าคุณซื้อกระเป๋า คุณก็ควรได้ของที่ผ่านการทดสอบ ตั้งใจผลิต ไม่เผางาน และได้ของดีๆ เพราะคุณซื้อ คุณควรได้ของดี สิ่งนี้คือสิ่งที่ผมศึกษาและ สนใจและทำมันออกมาอย่างเสมอ
และสุดท้าย ออกไปเดินทางกันครับ แต่อย่าลืมที่จะรักษาธรรมชาติไว้ให้คงอยู่กับเราได้นานๆโดยคำนึงถึงผู้อื่นและธรรมชาติให้มากขึ้น เราเลือกที่จะแบกของเบาได้ Ultralight ได้ ขาลงเขาจะเป็นไปได้ไหมถ้าเราเจอขยะแล้วหยิบเก็บลงมาด้วย สร้างจิตสำนึก ด้วยการปฎิบัติให้เห็น มากกว่าบอกกล่าว ผมว่ามัน มีพลังมากกว่า ฝากด้วยครับ จนกว่าจะพบกันใหม่ กับเส้นทางใหม่ ปลายปี
KIDD - orthisway
Photo by
@Log_O_hiker